วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

มดดำ

      

 มด

มด เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้

 กายวิภาคของมด

โครงสร้างของมดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง

ส่วนหัว
ส่วนหัวของมด มีหลายรูปร่าง เช่น รูปร่างห้าเหลี่ยม รูปร่างมังกร หรือวงรี ซึ่งมีส่วนที่สำคัญอีกคือ

หนวด

หนวดของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ Fomisintos ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงานสถาณภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (Emando) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด ซึ่งแบ่งออกดังนี้
  • มดราชินี (Queen Ant) มีหนวดประมาณ 210-254 ปล้อง
  • มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
  • มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
  • มดงาน (Worker Ant) มีหนวดประมาณ 83 -117 ปล้อง

ตา

แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ตารวมและ ตาเดี่ยว
  • ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่ อาจมีลักษะอื่นๆด้วย เช่น ตาเป็นมี ตา 2คู่ และไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม
  • ตาเดี่ยว คือ ตาที่ไม่ใช่คู่ ส่วนใหญ่ จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด
มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงาน พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น

ปาก

ปากของมดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ แบบกัดกิน (Thorix) และปากแบบลักษะดูด (Thorase)
  • ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่ จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน
  • ปากแบบลักษณะดูด จะมีไว้สำหรับ ดูดน้ำหวาน ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี
  • ร่องพักหนวด เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่ไม่ใด้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพักหนวดนี้

ส่วนอก

ส่วนอกเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง ส่วนท้อง และส่วนหัว โดยมากจะเป็นทรงกระบอก อาจมีตุ่มหนามอยู่ด้วย เป็นส่วนที่สองของลำตัวมดเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คำว่า thorax แต่จะใช้ alitrunk แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่ 2 และอกปล้องที่ 3 แต่อกปล้องที่ 3 นี้จะรวมกับท้องปล้องที่ 1 ซึ่งเรียกว่า propodeum ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สำหรับราชินีและมดเพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นมดราชินีมีอกขนาดใหญ่กวา ปีกจะพบที่มดเพศผู้และมดเพศเมียเท่านั้น มดบางชนิดอกปล้องที่ 1 อกปล้องที่ 2 เชื่อมติดกันเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่ 3 กับปล้องที่ 1 มดบางชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของมดนั้นจะถูกกำหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ

ส่วนท้อง

เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของมด บางชนิดจะแตกออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า Wasted twin ซึ่งมดบางชนิดอาจมีเหล็กใน และบางชนิดก็มีช่องไว้ปล่อยสารป้องกันตัว เป็นส่วนที่ 3 มดมี 1 หรือ 2ปล้องขึ้นอยู่กับกลุ่มมด อาจมี 1ปล้องคือ Petioleเป็นปล้องที่ 2 ของส่วนท้องอาจเป็นปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามี 2 ปล้องคือ Petiole และ Postpetiole เป็นปล้องที่ 2กับปล้องที่ 3 Postpetiole อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด petiole มีหนาม 1 คู่ ส่วนท้ายของลำตัว เรียก gaster โดยทั่วไปมีรูปร่างกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจ หรือรูปทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กไน บางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สำหรับบางชนิดไม่มีเหล็กไน ก็จะเปิดเป็นช่อง สำหรับขับสาร

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%94

แมลงเต่าทอง

แมลงเต่าทอง เป็นแมลงที่อยู่ใน วงศ์ Coccinellidae







แมลงเต่าทองมีหลายชนิด จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ไฟลัมอาร์โธรพอด

ไม่ได้มีแต่สีแดงเท่านั้นสีอื่นก็มี

เช่น สีส้ม สีเหลือง สีดำ (แต่ถ้าเป็นสีทอง สีเขียวทอง ปีกใส ๆ
ลักษณะคล้ายแมลงเต่าทอง ก็เป็นแมลงเต่าทอง

ในบางพวกที่ไม่ใช่ตัวห้ำแมลง แต่กลับเป็นแมลงศัตรูพืช)



แมลงเต่าทองจำนวนมากเป็น “ตัวห้ำแมลง”
แมลงเต่าทองเป็นตัวห้ำแมลง
ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย เรียกว่ามันจะกินเพลี้ยอ่อน
ไร แมลงหวี่ขาว แมลงขนาดเล็ก ไข่แมลง ฯลฯ
ตลอดชีวิตตั้งแต่ออกจากไข่เลยทีเดียว
แมลงเต่าทองมีการสืบพันธุ์เพิ่มปริมาณรวดเร็ว
จากการวางไข่ ครั้งละไม่น้อยกว่า 15 ฟอง







ประโยชน์

ส่งผลดีต่อชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน
ไม่ให้เกิดความเสียหายต่อพืชพรรณ
ที่ปลูกไว้ ทั้งยังมีประโยชน์ที่ช่วยกำจัดศัตรูพืชที่ดีเยี่ยม
เพราะมันจะกินเพลี้ยอ่อน ไร แมลงหวี่ขาว
แมลงขนาดเล็ก ไข่แมลง ฯลฯ













ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

แต่แมลงสำคัญอย่างแมลงเต่าทอง
ก็ถูกทำลายโดยมนุษย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เอง
ก็ถูกทำลายให้เหลือลดน้อยลงจากสารฆ่าแมลงของเกษตรกรเอง
ปัจจุบันจะเป็นว่าแมลงตัวห้ำเหลือน้อยลง
จนหาได้ยากมาก จนไม่เพียงพอจะกำจัดแมลงศัตรูพืช





อนาคตของพวกเธอสดใสแล้ว

ปัจจุบันได้มีการช่วยเพิ่มปริมาณแมลงตัวห้ำ
ด้วยการผลิตแมลงเหล่านี้แล้วนำไปปล่อยในธรรมชาติ
เรียกวิธีการนี้ว่า การป้องกันกำจัดแมลงแบบชีวอินทรี
แบบธรรมชาติดูแลกันเอง ถือเป็นวิธีช่วยเหลือเกษตรกร
และผู้ปลูกต้นไม้ที่ดีเยี่ยมเพราะไม่ต้องใช้สารเคมีเพื่อกำจัดแมลง
ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกร
ต่อผู้บริโภคและช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้บริสุทธิ์สะอาด
ทั้งยังช่วยเร่งการเติบโตให้กับแมลงตัวห้ำที่เป็นประโยชน์ต่อ
พืชพรรณไม้ต่าง ๆ ให้พ้นจากแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี



เธอช่างเป็นอะไรที่วิเศษเสียจริง

แมลงตัวห้ำที่ได้กล่าวไว้นั้น เป็นลักษณะของแมลง
ที่กินแมลงเป็นศัตรูพืชเป็นอาหาร โดยแมลงตัวห้ำ
ที่ว่าเป็นลักษณะของแมลงเต่าทองรวมอยู่ด้วย คือ
จะมีขนาดตัวใหญ่แข็งแรงกว่าเหยื่อ กินเหยื่อทั้งตัว
กินคราวละหลายตัว กินเหยื่อได้ตั้งแต่ออกจากไข่
เป็นตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัยเลยทีเดียว
และเมื่อโตเต็มวัยจะใช้วิธีบินหาเหยื่อเรื่อยไป
ไม่ได้อาศัยอยู่กับเหยื่อเหมือนกันแมลงตัวเบียน
โดยแมลงเต่าทองจะบินไปเรื่อย ๆ จนพบเหยื่อ
ช่างเป็นแมลงที่พอเพียงเสียจริง ซึ่งเหยื่อของมัน
คือ เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของต้นไม้ที่มียอดอ่อน
เพลี้ยอ่อนนั้นถือเป็นศัตรูตัวร้ายที่ฉลาดมาก
ซึ่งมันจะปล่อยน้ำตาลออกมาที่ก้นให้มดมากินน้ำตาล
และมดก็จะคอยช่วยดูแลพวกมันจากแมลงอื่น ๆ
ที่จะมารบกวนการเจาะดูดน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนของพืชที่เราปลูก
ทั้งยังเป็นแมลงที่ตายยากมาก ถ้าไม่เจอแมลงเต่าทอง
มาช่วยกำจัดก็จะแพร่กระจายระบาดไปทั่วอย่างรวดเร็ว

แมลงเต่าทองมีหลากหลายสีสันลวดลายและจุดต่าง ๆ

แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะสีดำ สีแดง สีเหลือง สีส้ม

สีเขียวก็ยังมี



มาดูแมลงกับดอกไม้แสนสวย

และน่ารักกันดีกว่า
















ภาพประกอบ จากแหล่งข้อมูล ดังนี้
http://www.animalcorner.co.uk/insects/l...cle.html,
http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/...rds.html,
http://www.photography.gordonengland.co...jpg.html,
http://macro.art-scene.org/tag/ladybird/,
http://www.bexley.gov.uk/index.aspx%3Fa...d%3D3459,
http://www.animalcorner.co.uk/insects/l...omy.html
http://www.arthropods.de/insecta/coleop...02_e.htm
http://www.carbonmanagers.com/blog/file...the.aspx
ipm.ncsu.edu/cotton/insectcorner...cial.htm
forum.grasscity.com/absolute-beg...ugs.html
australian-insects.com/lepidopte...ynf.html
http://www.wildaboutbritain.co.uk/galle...ate%3D-1
http://www.austinbug.com/coccinellidae.html
http://www.gatesheadbirders.co.uk/Insects/Insect%20News%202008.htm
http://www.natureconservationimaging.com/Pages/nature_conservation_imaging_gardens_ladybirds.htm,
http://www.teenee.com และ supertoy.host.sk/photos/index.html

ภาพจากสวนบ้านครูนิตยา







เพลี้ยแป้ง

        ลักษณะ 
        ลักษณะของเพลี้ยแป้งมีลำตัวเป็นข้อ ปล้อง รูปร่างกลมหรือยาวรี ส่วนหัวและขาอยู่ใต้ลำตัว มี 6 ขา ไม่มีปีก มีผงแป้งคลุมตัว ปากเป็นแบบดูดกิน ขยายพันธุ์ได้ทั้งโดยการใช้เพศและไม่ใช้เพศ (Thelytokous parthenogenesis) ซึ่งเพศเมียไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ มีทั้งประเภทออกลูกเป็นไข่ (Oviparous) หรือออกลูกเป็นตัว (Viviparous)
ไข่ เพลี้ยแป้งมีไข่เป็นฟองเดี่ยว สีเหลืองอ่อน ยาวรี บรรจุอยู่ในถุงไข่ซึ่งมีเส้นใยคล้ายสำลีหุ้มไว้
          ตัวอ่อน เพลี้ยแป้งมีตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวยาวรี ตัวอ่อนวัยแรก (Crawlers) เคลื่อนที่ได้ มีการลอกคราบ 3 – 4 ครั้ง
          ตัวเต็มวัย เพศเมีย มีลักษณะลำตัวค่อนข้างแบน บนหลังและด้านข้างมีขนปกคลุมมาก ชนิดวางไข่จะสร้างถุงไข่ไว้ใต้ท้อง มีลักษณะเป็นเส้นใยคล้ายสำลีหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง ส่วนชนิดออกลูกเป็นตัวลำตัวป้อม กลมรี ส่วนหลังและด้านข้างมีแป้งเกาะ เพศผู้ มีปีก 1 คู่ ลักษณะคล้ายแตนหรือแมลงหวี่ ขนาดเล็กกว่าเพศเมีย
          การดำรงชีวิต ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช เพลี้ยแป้งมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ปกติทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง แต่จากลักษณะการกินและการทำลายพืช จึงมักเห็นอยู่นิ่งไม่ค่อยเคลื่อนที่
วงจรชีวิต
         ตัวเมียของเพลี้ยแป้งของต้นส้มสามารถออกไข่ได้ประมาณ 600 ฟอง ซึ่งจะถูกวางในถุงคลุมไข่ ไข่จะฟักออกมาภายใน 10 วันเป็นตัวนิมพ์ตัวเล็กๆ ซึ่งจะเคลื่อนไปมาบนต้นไม้และตามหาแหล่งอาหาร มันสามารถแพร่พันธุ์ได้มากสูงสุด 6 ครั้งต่อปี

นิสัย
          เพลี้ยแป้งสามารถกินพืชได้หลากหลายชนิด จึงทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโต ทำให้ใบไม้ผิดรูปหรือร่วง ทำให้ใบเหลือง และในบางครั้งอาจทำให้ต้นไม้ตายได้ โดยที่เพลี้ยแป้งผลิตน้ำหวานจำนวนมากซึ่งจะใช้เคลือบที่ต้นไม้และพื้นผิวโดย รอบด้วยชั้นที่เหนียว

การปรับตัว

          เพลี้ยแป้งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น และมักแพร่ระบาดในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ไม่มีพืชอาหารหลัก เพลี้ยแป้งจะอาศัยอยู่ในดินตามรากพืช โดยมีมดเป็นแมลงพาหะ โดยมดจะเข้ามากินสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้งซึ่งมีลักษณะเหมือนน้ำหวาน และเป็นตัวพาไปบริเวณต้นอื่นหรือไม้ชนิดอื่น จึงเป็นการแพร่กระจายเพลี้ยแป้งได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้สิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้งยังเป็นแหล่งอาหารที่ดีของราดำ เราจึงพบเสมอว่าเมื่อใดเกิดการระบาดของเพลี้ยแป้ง ในช่วงเวลาต่อมาจะพบการระบาดของโรคราดำตามมาด้วยทำให้ใบของลีลาวดีมีสีดำด่าง เปรอะเปื้อนไม่สวยงาม

การระบาด
           ปริมาณการระบาดของเพลี้ยแป้งจะพบมากในช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งเป็นเวลานาน เมื่อพืชฟื้นตัวในช่วงฤดูฝนปริมาณการระบาดของเพลี้ยแป้งก็จะลดลง จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า การระบาดของเพลี้ยแป้งจะพบปริมาณมากในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากเมื่อความต้องการน้ำของพืชถูกจำกัดลง ใบที่สร้างขึ้นในช่วงแล้ง พบว่า เป็นใบมีกระบวนการเมตาโบลิซึมสูง ทำให้ใบมีคุณค่าทางอาหารสูงด้วยเหมาะต่อสภาวะการเจริญเติบโตของ เพลี้ยแป้ง หรืออาจกล่าวได้ว่าเพลี้ยแป้งชอบดูดน้ำเลี้ยงของใบที่สร้างในช่วงแล้ง มากกว่าในช่วงฝน นอกจากนี้แมลงที่เป็นตัวห้ำและตัวเบียนมีปริมาณลดลงในช่วงนี้ด้วย เพลี้ยแป้งสามารถระบาดจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่นได้โดยการติดไปกับคน ท่อนพันธุ์ กระแสลม และมดเป็นพาหนะนำตัวเพลี้ยแป้งไปเลี้ยงเพื่อรอดูดกินมูลหวาน ความเสียหายจากการทำลายของเพลี้ยแป้งต่อผลผลิตขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบ โตของมันสำปะหลัง โดย การระบาดของเพลี้ยแป้งในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโต (1-4 เดือน) จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตมากกว่าระยะกลาง (4-8 เดือน) และปลายของการเจริญเติบโต (8-12 เดือน) จากรายงานที่ผ่านมา พบว่า ในประเทศโคลอมเบียผลผลิตลดลง 68-88 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศในอัฟริกาผลผลิตลดลงมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์

การทำลายเพลี้ยแป้ง
         ลักษณะการทำลายของเพลี้ยแป้ง คือ การดูดน้ำเลี้ยง โดยใช้ส่วนของปากที่เป็นท่อยาว ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ตา และลำต้น บางครั้งอาจพบการดูดน้ำเลี้ยงในส่วนของรากมันสำปะหลัง เพลี้ยแป้งสามารถระบาดและทำลายมันสำปะหลังในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะของเหลวข้นเหนียวมีรสหวาน ทำให้เกิดราดำปกคลุมปิดบังบางส่วนของใบพืช มีผลทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง ส่วนในปากที่เป็นท่อยาวของเพลี้ยแป้งที่กำลังดูดน้ำเลี้ยง อาจมีฮอร์โมนเร่ง การเจริญเติบโตถูกขับออกมาด้วย ทำให้ส่วนลำต้นที่ถูกทำลายด้วยเพลี้ยแป้ง มีข้อถี่มาก มีการแตกใบเป็นพุ่มหนาเป็นกระจุก โดยส่วนของยอด ใบ และลำต้นอาจแห้งตายไปในที่สุดหลังจากถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง ส่วนของลำต้นที่ถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง มีผลทำให้ท่อนพันธุ์แห้งเร็ว อายุการเก็บรักษาสั้น โดย ให้ความงอกต่ำและงอกช้ากว่าปกติมาก เพลี้ยแป้งบางชนิดอาจเป็นพาหนะของเชื้อไวรัสเข้าสู่พืชก็ได้ 

การป้องกันและการกำจัด
         การป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง ใช้น้ำพ่นให้ถูกตัวอย่างแรง เพลี้ยแป้งก็จะหลุดจากต้นพืช สำหรับการใช้สารเคมี สามารถใช้มาลาไธออน 0.5 กิโลกรัม หรือ ไดอะซินอน 200 กรัม หรือ ทริไธออน 200 กรัม ผสมกับน้ำ 450 ลิตร พ่นทุก 3-4 สัปดาห์ต่อครั้ง 

นิเวศวิทยา

เพลี้ยแป้งเพศเมียเต็มวัยสามารถขยายพันธุ์ได้ โดย ไม่ต้องผสมพันธุ์จากเพศผู้ มีทั้งสามารถออกลูกเป็นตัว และออกลูกเป็นไข่แล้วฟักเป็นตัวอ่อนได้ แต่ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ โดย วางไข่เป็นเม็ด เวลาวางไข่จะสร้างถุงไข่ไว้ใต้ท้องมีลักษณะเป็นใยคล้ายสำลีหุ้มไข่ไว้อีก ชั้นหนึ่ง มีขนาดกว้าง 0.20 มิลลิเมตร ยาว 0.40 มิลลิเมตร ถุงไขมีจำนวนไข่ ตั้งแต่ 50-600 ฟอง ใช้เวลาวางไข่ 7 วัน ไข่ มีลักษณะเป็นเม็ดเดียว สีเหลืองอ่อน รูปร่างยาวรี ส่วนตัวอ่อนวัยแรกที่ฟักออกจากไข่ มีสีเหลืองอ่อน ลำตัวยาวรี สามารถเคลื่อนที่ได้ หลังจากนั้นลอกคราบ 3-4 ครั้ง ระยะตัวอ่อนใช้เวลา 18-59 วัน ตัวอ่อนมีขนาดกว้าง 1.00 มิลลิเมตร ยาว 2.09 มิลลิเมตร โดย ตัวอ่อนเริ่มมีหาง สามารถสร้างแป้งและไขแป้งสีขาวห่อหุ้มรอบลำตัวได้ สำหรับตัวเมียเต็มวัย มีลักษณะตัวค่อนข้างแบน บนหลังและรอบลำตัวมีไขแป้งปกคลุมมาก มีขนาดกว้าง 1.83 มิลลิเมตร ยาว 3.03 มิลลิเมตร และหางยาว 1.57 มิลลิเมตร ตัวเมียเต็มวัยอายุประมาณ 10 วัน สามารถวางไข่หรือออกลูกได้ ส่วนตัวผู้เต็มวัยมีปีกบินได้และหนวดยาว ขนาดกว้าง 0.45 มิลลิเมตร ยาว 1.35 มิลลิเมตร ปีกยาว 1.57 มิลลิเมตร เพลี้ยแป้งบางชนิดเท่านั้นที่ไข่พัฒนาเป็นตัวเต็มวัยเพศผู้ รวมชีพจักรเพลี้ยแป้ง ตั้งแต่ 35-92 วัน







อ้างอิง















ทะเบียนพรรณไม้










ประโยชน์แท้แก่มหาชน

ประโยชน์แท้แก่มหาชน 
 
          การ ศึกษาสารประโยชน์แท้แก่มหาชนมีหลักการศึกษาคือ วิเคราะห์ศักยภาพด้านต่างๆ ของพืช เช่น รูปลักษณ์ พฤติกรรม คุณสมบัติมีวิธีการดังนี้
1. นำผลการศึกษาขี้กาแดงวิเคราะห์ “ ศักยภาพ” ด้านต่างๆ เช่น รูปลักษณ์ คุณสมบัติ พฤติกรรม
2. กำหนดแนวคิด สู่การใช้ประโยชน์
3. สรรสร้างแนวทาง วิธีการ สู่การใช้ประโยชน์นั้น


          ประโยชน์แท้แก่มหาชน วิเคราะห์ศักยภาพของผักโขมหัดด้านต่างๆ เช่น ด้านรูปลักษณ์ ด้านคุณสมบัติ ด้านพฤติกรรม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อคน ต่อสังคม ต่อแผ่นดินทั้งสิ้น การที่จะมองเห็นและนำไปใช้ประโยชน์นั้นต้องวิเคราะห์ศักยภาพ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด ของพืชผักโขมหัดด้านรูปลักษณ์ ด้านคุณสมบัติ ด้านพฤติกรรมแล้วจินตนาการสร้างสรรค์สู่การใช้ประโยชน์แก่มหาชน ซึ่งในการศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
          วิเคราะห์ศักยภาพด้านคุณสมบัติราก
ผักโขมหัด ---> จินตนาการ ---> สร้างสรรค์
                    ความเหนียวของราก ---> ออกแบบโคมไฟผักโขมหัด---> ประดิษฐ์โคมไฟ
          วิเคราะห์ศักยภาพด้านสีของใบ
ผักโขมหัด---> จินตนาการ ---> สร้างสรรค์
                    สีของใบ ---> ออกแบบเมนูอาหาร ---> ทำข้ามันผักโขมหัด ---> คุกกี้ผักโขมหัด
          วิเคราะห์ศักยภาพด้านรูปลักษณ์ของดอกผักโขมหัด ---> จินตนาการ ---> สร้างสรรค์
                    รูปทรงของดอก ---> ออกแบบเครื่องประดับ ---> ทำเครื่องประดับ
          วิเคราะห์ศักยภาพด้านรูปลักษณ์ของ
ผักโขมหัด ---> จินตนาการ ---> สร้างสรรค์
                    รูปทรงของเมล็ด --- > ออกแบบเครื่องประดับ ---> ทำเครื่องประดับ 


ข้าวมันผักโขม
 

ส่วนผสม
1. ข้าวหอมมะลิเก่า 1 ½ ถ้วยตวง
2. ใบผักโขม (spinach) 75 กรัม กำเล็ก ๆ
3. กะทิกระป๋อง ½ ถ้วย หรือ 125 มล.
4. น้ำตาลทราย 1 + ½ ช้อนโต๊ะ
5. เกลือ 1 ช้อนชา
6. น้ำเปล่า 2 ถ้วย (แบ่งเป็น 2 ส่วน 1 + ½ ถ้วย และ ½ ถ้วย)



วิธีทำ

1. ล้างข้าวสารใส่กระชอน พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ


Photobucket

2. นำน้ำเปล่า ½ ถ้วย และผักโขม ไปปั่นให้ละเอียด แล้วนำไปกรองด้วยกระชอนตาถี่ ถ้าต้องการสีเขียวเนียน ๆ กรองด้วยผ้าขาวบางไปเลยค่ะ จะได้น้ำผักโขมใส ๆ เลย ไม่มีกากฝุ่นเล็ก ๆ หลงมา กรองให้ได้น้ำ ½ ถ้วย พักไว้


Photobucket

3. ผสม กะทิ (1/2 ถ้วย) น้ำเปล่าที่เหลือ (1 + 1/2 ถ้วย) และน้ำผักโขม ½ ถ้วย ตามด้วยน้ำตาลและเกลือ คนให้เข้ากัน และน้ำตาลละลาย ใช้ตะกร้อมือไปเลยค่ะ เพราะกะทิจากกระป๋องจะค่อนข้างข้น นำไปกรองด้วยกระชอยตาถี่หลาย ๆ ครั้ง (กรองด้วยผ้าขาวบางจะดีกว่า)




Photobucket

4. นำข้าวสารที่ซาวน้ำไว้ใส่หม้อหุงข้าว ตามด้วยส่วนผสมน้ำกะทิผักโขม หุงข้าวไปซัก 10 นาที ใช้ทัพพีตักข้าวคนข้าวกับน้ำกะทิ เพื่อสีเขียวของผักโขมจะได้กระจายเข้าเนื้อข้าว ได้ทั่วถึง แล้วหุงต่อจนข้าวสุก


· ส่วนผสมน้ำ อาจจะดูมากกว่าการหุงข้าวตามปกติ แต่ไม่ต้องตกใจค่ะ เพราะข้าวเวลาหุงกับกะทิและน้ำตาล แล้วจะสุกยากกว่าการหุงข้าวโดยปกติ....




Photobucket


ขอบคุณภาพสวยๆ และไอเดียดีๆจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tastypastry&month=09-2010&date=07&group=1&gblog=43