วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

แนวทางการดำเนินงาน งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียน และสถาบันการศึกษาได้มีสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้
 เพื่อเข้าถึงวิทยาการ ปัญญาและภูมิปัญญาแห่งตน  ปฏิบัติตนเป็นผู้อนุรักษ์ พัฒนา สรรพชีวิต สรรพสิ่ง ด้วยคุณธรรม  ผู้บริหาร  ครู อาจารย์  เข้าถึง  สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทั้งปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์และบรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  ปฏิบัติงาน เป็นหนึ่ง  ระดับมัธยมศึกษา  เรียนรู้โดยตน มีวิทยาการของตน  โดยธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว  เป้าหมาย  ให้มีโรงเรียน เป็นแบบอย่าง ของ การมี  การใช้ศักยภาพ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนอย่างเหมาะสมให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้ ทุกสาขาวิชา  ในลักษณะ บูรณาการวิทยาการและบูรณาการชีวิต  จากปัจจัยศักยภาพสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน การดำเนินงานมุ่งสู่ประโยชน์แท้แก่มหาชน   มุ่งสู่กระแสปูทะเลย์มหาวิชชาลัย  บนฐานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 

วิธีการดำเนินงานองค์ประกอบ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  องค์ประกอบที่ ๑ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้
หลักการ
 รู้ชื่อ รู้ลักษณ์  รู้จัก    

สาระการเรียนรู้กำหนด ขอบเขตพื้นที่ศึกษา สำรวจพรรณไม้ ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น บันทึกภาพพรรณไม้หรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ ตั้งชื่อหรือสอบถามข้อมูลพรรณไม้ ทำป้ายชื่อพรรณไม้ชั่วคราว ทำผังแสดงตำแหน่งพรรณไม้  ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ตามแบบ (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๒-๗ ) ทำตัวอย่างพรรณไม้ เปรียบเทียบข้อมูลที่สรุป (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๘)  กับข้อมูลที่สืบค้นจากเอกสาร แล้วบันทึกใน ก.๗-๐๐๓ หน้า ๙ - ๑๐ เรียนรู้ชื่อที่เป็นสากล ทำทะเบียนพรรณไม้ (ก.๗-๐๐๕) ตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนพรรณไม้ และจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ เพื่อให้รู้จัก รู้ประโยชน์ของพรรณไม้

องค์ประกอบที่ ๒ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน 
หลักการ :  คลุกคลี  เห็นคุณ  สุนทรี 
สาระการเรียนรู้เรียน รู้พืชพรรณ และสภาพพื้นที่ วิเคราะห์พื้นที่ พิจารณาสุนทรียภาพพรรณไม้ ทำผังภูมิทัศน์ จัดหาพรรณไม้ ปลูก ดูแลรักษา และออกแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เห็นคุณ รู้ค่า ของพืชพรรณ๒.๑ การวิเคราะห์สภาพพื้นที่ และเรียนรู้ธรรมชาติของพรรณไม้ เป็นการศึกษาข้อมูลจากผังพรรณไม้เดิม  ทางด้านกายภาพ เช่น ข้อมูล ดิน น้ำ อากาศ แสง และด้านชีวภาพ  เช่น พืช สัตว์  การศึกษาลักษณะวิสัย ถิ่นอาศัย และข้อมูลทั่วไปของพืช๒.๒ การ กำหนดชนิดพรรณไม้ที่จะปลูก เป็นการเลือกพรรณไม้ที่จะปลูกให้มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ โดยพิจารณาพรรณไม้ที่มีในท้องถิ่นเป็นหลัก หรือพิจารณาตามวัตถุประสงค์ การใช้ประโยชน์และสุนทรียภาพของพรรณไม้ ๒.๓ การกำหนดการใช้ประโยชน์  เป็น การกำหนดพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ เช่น ต้องการแบ่งพื้นที่เป็น สนามหญ้า ถนน ทางเดิน อาคาร สวนสมุนไพร ๒.๔ การจัดทำผังภูมิทัศน์ เป็นการจัดทำรายละเอียดการปลูกพรรณไม้ในรูปแบบผัง และตาราง  เช่น รหัสประจำต้น  ชื่อพรรณไม้ที่จะปลูก ขอบเขต ตำแหน่งที่ปลูก จำนวน ลักษณะวิสัย ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางของพุ่ม ระยะพื้นที่ปลูก  ๒.๕ การจัดหาและการปลูกพรรณไม้  เป็นการจัดหาพืชและสิ่ง ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในผังภูมิทัศน์ มาเพิ่มเติมเพื่อความสอดคล้องกับของเดิมที่มีอยู่ โดยคำนึงถึงความสวยงาม พร้อมกับบันทึกข้อมูลการจัดหาพรรณไม้ ข้อมูลการปลูก เช่น จำนวนต้น ชนิด วันที่ปลูก ผู้ปลูก พร้อมการใช้วัสดุปลูก๒.๖  การศึกษาพรรณไม้หลังการปลูก เป็นการการดูแลรักษา  เช่น การให้น้ำ ใส่ปุ๋ย การตัดแต่ง  พร้อม บันทึกข้อมูลการดูแลรักษา เช่น รหัสพรรณไม้ ชื่อพรรณไม้ วิธีการดูแลรักษา ผู้ดูแล ตลอดจนการบันทึกการเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาพันเกี่ยว และพิจารณาคุณ สุนทรียภาพที่เกิดจากการปลูกพรรณไม้   


 

องค์ประกอบที่ การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ 
หลักการ  : รู้การวิเคราะห์  เห็นความต่าง   รู้ความหลายหลาก     
สาระการเรียนรู้ : รู้วิธีการวิเคราะห์เบื้องต้น  รู้วิธีการจำแนก รู้ความต่าง   รู้ความหลายหลาก ๓.๑ การศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน(ก.๗-๐๐๓)       ครบตามทะเบียนพรรณไม้   - การศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน บันทึกในเอกสาร ก.๗-๐๐๓ หน้าที่ ๑   -  การศึกษาข้อมูลพรรณไม้ บันทึกใน ก.๗-๐๐๓ หน้าที่ ๒-๗   - การสรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้ คือ การตรวจสอบ    การบันทึกข้อมูลใน ก.๗-๐๐๓ หน้าที่ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์   -การสืบค้นข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ ตรวจสอบการบันทึก   ข้อมูลใน ก.๗-๐๐๓หน้า ๓.๒ การศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ- การศึกษาลักษณะภายนอก ภายในของพืชแต่ละส่วน   - กำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช คือ พิจารณาพื้นที่ศึกษาจากการวิเคราะห์  และกำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืชศึกษา  เช่น สี  ขนาด รูปร่าง รูปทรง ผิว เนื้อ- เรียน รู้แต่ละเรื่องแต่ละส่วนของแต่ละองค์ประกอบย่อย คือการศึกษา สังเกต บันทึกข้อมูลด้านรูปลักษณ์ ในแต่ละเรื่อง แต่ละส่วน ของแต่ละองค์ประกอบย่อย-นำข้อมูลเปรียบเทียบความต่างแต่ละเรื่อง ในชนิดเดียวกัน
 

องค์ประกอบที่ ๔ การรายงานผลการเรียนรู้ 
หลักการ :  รู้สาระ   รู้สรุป   รู้สื่อ 
สาระการเรียนรู้รวบรวมผลการเรียนรู้  วิเคราะห์ เรียบเรียงสาระ จัดระเบียบข้อมูลสาระแต่ละด้าน จัดลำดับสาระหรือกลุ่มสาระ เรียนรู้รูปแบบการเขียนรายงาน  วิธีการรายงานผลในรูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
 

องค์ประกอบที่ ๕ การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา
 หลักการ : นำองค์ความรู้ ที่เป็นวิทยาการ เผยแพร่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
 สาระการเรียนรู้      การ บูรณาการสู่การเรียนการสอนในกลุ่มสาระ/สาขาวิชาต่างๆการเผยแพร่องค์ความรู้ การสร้าง การใช้ การดูแลรักษา พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อการใช้ประโยชน์องค์ความรู้ในวงกว้างสาระการเรียนรู้๕.๑ การเรียนรู้ธรรมชาติแห่งชีวิต  หลักการ : รู้การเปลี่ยนแปลง รู้ความแตกต่าง รู้ชีวิตสาระการเรียนรู้     การเรียนรู้วงจรชีวิตของชีวภาพนั้นๆ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ   และพฤติกรรม แล้วนำมาเปรียบเทียบตนเองกับชีวภาพ     รอบกายเพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต๕.๒   การเรียนรู้สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยวหลักการ :  รู้สัมพันธ์  รู้ผูกพัน รู้ดุลยภาพสาระการเรียนรู้การวิเคราะห์องค์ความรู้ธรรมชาติของปัจจัยหลัก  การเรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  การเรียนรู้ธรรมชาติของความพันเกี่ยวระหว่างปัจจัย  การวิเคราะห์สัมพันธภาพระหว่างปัจจัยเพื่อเข้าใจดุลยภาพ/ความพันเกี่ยวของสรรพสิ่ง๕.๓   การเรียนรู้ประโยชน์แท้แก่มหาชนหลักการ :  รู้ศักยภาพ   รู้จินตนาการ  รู้ประโยชน์สาระการเรียนรู้เรียนรู้ การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยศึกษา   จินตนาการเห็นคุณ สรรค์สร้างวิธีการ  เพื่อประโยชน์แท้แก่มหาชน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น