วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สาระที่ ๓ ประโยชน์แท้แก่มหาชน

สาระที่ ๓ ประโยชน์แท้แก่มหาชน

การเรียนรู้ประโยชน์แท้แก่มหาชน


หลักการ   รู้ศักยภาพ   รู้จินตนาการ  รู้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้
เรียนรู้ การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยศึกษา   จินตนาการเห็นคุณ สรรค์สร้างวิธีการ  เพื่อประโยชน์แท้แก่มหาชน


ลำดับการเรียนรู้
๑. เรียนรู้การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยศึกษา
๑.๑  พิจารณาศักยภาพด้านรูปลักษณ์
๑.๒ วิเคราะห์ศักยภาพด้านคุณสมบัติ
๑.๓ จินตนาการศักยภาพด้านพฤติกรรม

๒. เรียนรู้ จินตนาการเห็นคุณของศักยภาพ ของปัจจัยศึกษา
๒.๑  จินตนาการจากการวิเคราะห์ศักยภาพ
๒.๒ เรียนรู้สรุปคุณของศักยภาพ ที่ได้จากจินตนาการ

๓. สรรค์สร้างวิธีการ
๓.๑ พิจารณาคุณที่เกิดจากจินตนาการ
๓.๒ สร้างแนวคิด แนวทาง วิธีการ

๔. สรุปผลการเรียนรู้ ประโยชน์แท้แก่มหาชน

อธิบายลำดับการเรียนรู้
ให้การสัมผัสปัจจัยการเรียนรู้ โดยเยาวชน บนฐานของ สรรพชีวิต  สรรพสิ่ง  เกิดการเรียนรู้
รู้เล็ก  ลึก  ละเอียด ในชีวิต  เห็น ศักยภาพ ของสิ่งที่รู้  บนฐานของการรู้จริง   เห็นคุณ  อันก่อเกิดเป็น ประโยชน์แท้ แก่ตน  สังคม  และประเทศชาติ
ประโยชน์แท้  เมื่อเกิดขึ้นแล้ว  พืชพรรณ  ได้รับการอนุรักษ์  อย่างเห็นคุณ รู้ค่า รู้ใช้ประโยชน์ อย่างระมัดระวัง  รอบคอบ   ด้วยสติ  ปัญญาของเยาวชน  ประโยชน์นั้นจึงจะสมบูรณ์  ยั่งยืน

๑. เรียนรู้การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยศึกษา
เรียนรู้ศักยภาพของปัจจัยศึกษา โดยมีการเรียนรู้ด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ พฤติกรรม
ผ่านอวัยวะสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย  ร่วมกับจิตที่แน่ว  จรดจ่อ
๑.๑  พิจารณาศักยภาพด้านรูปลักษณ์

๑.๑  พิจารณาศักยภาพด้านรูปลักษณ์
กรณีศึกษา ผักโขม
๑. กำหนดเรื่องที่เรียนรู้ คือ ดอกผักโขม
๒. พิจารณาศักยภาพของสีของดอกผักโขม พบว่าธรรมชาติของผักโขม ดอกเป็นช่อกระจุก สีน้ำตาลอมม่วง
ช่อกระจุก  มีศักยภาพ  สามัคคี มีพลัง ความมั่นคง

๑.๒ จินตนาการศักยภาพด้านคุณสมบัติ
๑. กำหนดปัจจัยเรียนรู้ คือ คุณสมบัติของดอกผักโขม
๒. จินตนาการศักยภาพของคุณสมบัติ พบว่าธรรมชาติของความสากของดอกผักโขม  มีศักยภาพ ขัดถู  ดัก จับ แรงเสียดทานสูง
๑.๓ วิเคราะห์ศักยภาพด้านพฤติกรรม (ผลการตอบสนองต่อปัจจัย)
๑. กำหนดปัจจัยเรียนรู้ คือ พฤติกรรม(ผลการตอบสนองต่อปัจจัย)  การร่วงหล่นของดอกผักโขม
๒. วิเคราะห์ศักยภาพของพฤติกรรม (ผลการตอบสนองต่อปัจจัย)

(สังเกตการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของปัจจัยศึกษา)
ธรรมชาติของการงอกของเมล็ดผักโขม พบว่า ผักโขมร่วงหล่นและงอกเองได้โดยธรรมชาติ
การงอกของเมล็ดผักโขม  ศักยภาพ คือ การเกิดใหม่ การมีชีวิต การเจริญเติบโต การเอาตัวรอด

๒. เรียนรู้ จินตนาการเห็นคุณของศักยภาพ ของปัจจัยศึกษา
 ๒.๑  จินตนาการจากการวิเคราะห์ศักยภาพ
การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยที่ศึกษา จากศักยภาพนั้นก่อเกิดจินตนาการ ซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากอารมณ์ที่เนื่องจากความคิด
ตัวอย่าง การจินตนาการเห็นคุณของการสัมผัสเมล็ด
๑.      ทำให้สึก  หลุดออก

๒.    ทำให้เรียบ
๓.     ทำให้สะอาด
๔.     ทำให้ผ่อนคลาย
๒.๒ เรียนรู้สรุปคุณของศักยภาพ ที่ได้จากจินตนาการจินตนาการที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ สู่ทางที่ดี สรุปเป็นคุณแก่ตน สรรพสิ่ง และประเทศชาติ

๓. สรรค์สร้างวิธีการ 
๓.๑ พิจารณาคุณที่เกิดจากจินตนาการ
พิจารณาเลือกคุณที่เกิดจากจินตนาการ นำไปสู่การพัฒนา
๓.๒ สร้างแนวคิด แนวทาง วิธีการ ตัวอย่าง  ทำให้สะอาด
แนวคิดที่ ๑  นำไปเป็นวัสดุขัดถูผิวกาย
แนวคิดที่ ๒ นำไปเป็นวัสดุขัดถูเครื่องครัว
แนวคิดที่ ๓  นำไปเป็นวัสดุขัดถูวัสดุการเกษตร
แนวคิดที่ ๑  นำไปเป็นวัสดุขัดถูผิวกาย

แนวทางที่ ๑   ทำเป็นแปรงขัดถู
แนวทางที่ ๒  ทำเป็นแผ่นขัดถู
แนวทางที่ ๓  ทำเป็นก้อนขัดถู
แนวทางที่ ๔  ทำเป็นเส้นขัดถู
วิธีการของแนวทางที่ ๑   ทำเป็นแปรงขัดถู
๑.      ออกแบบ  เขียนแบบ  แปรงขัดถูผิวกายตามจินตนาการ
๑.๑   จัดทำแบบร่าง  รูปลักษณ์ของแปรงขัดถู
๑.๒  พัฒนาแบบร่างของแปรงขัดถู  โดยพิจารณาขนาด  สัดส่วนมาตราส่วน  รูปแบบการใช้งาน  คัดเลือกวัสดุ  ให้เหมาะสมกับผู้ใช้
๑.๓  แบบขั้นสุดท้าย  กำหนดวัสดุที่ใช้ตามมาตรฐาน
๑.๔  เขียนแบบแปรงขัดถู  แสดงแบบแปลน รูปด้าน รูปตัด

๔. สรุปผลการเรียนรู้ ประโยชน์แท้แก่มหาชน
การสรรค์สร้างวิธีการเรียนรู้ประโยชน์แท้แก่มหาชน จะต้องมีคุณลักษณะทั้ง ๔ ประการ
ผลประโยชน์นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สืบเนื่องยาวนานไม่รู้จบ
ผลประโยชน์นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ขจัดความขาดแคลนทางกาย
ผลประโยชน์นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว บำรุงจิตให้เบิกบาน
ผลประโยชน์นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ตกอยู่กับมหาชนคนส่วนใหญ่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ด้านวิชาการ
๑.      วิทยาศาสตร์  เช่น  คิด  วิเคราะห์ เป็นระบบ  เป็นขั้นเป็นตอน  เรียนรู้ด้านรูปลักษณ์
คุณสมบัติ
๒.    สรีรวิทยา  เช่น  กลไกธรรมชาติ  กระบวนการเปลี่ยนแปลง

๓.     ภาษา  เช่น  การใช้คำในการสื่อสาร
๔.     ศิลปะ เช่น  การออกแบบ  การวาดภาพ  การแสดง
๕.     สังคมศาสตร์  เช่น  การทำงานร่วมกัน

๒. ด้านภูมิปัญญา
๑.  การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
๒. การจัดการชีวิต เข้าใจชีวิต
๓.  การสรรค์สร้างสิ่งใหม่

๓. คุณธรรมและจริยธรรม
๑.      ความละเอียด รอบคอบ
๒.    ความเอาใจใส่ของผู้สอนต่อผู้เรียน
๓.     ความรัก  ความเมตตา
๔.     ความซื่อสัตย์
๕.     ความรับผิดชอบ


สาระที่ ๒ สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว

สาระที่ ๒ สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว

 

การเรียนรู้สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว
หลักการ รู้สัมพันธ์ รู้ผูกพัน รู้ดุลยภาพ
สาระการเรียนรู้
การวิเคราะห์องค์ความรู้ธรรมชาติของปัจจัยหลัก การเรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง การเรียนรู้ธรรมชาติของความพันเกี่ยวระหว่างปัจจัย การวิเคราะห์สัมพันธภาพระหว่างปัจจัย เพื่อเข้าใจดุลยภาพและความพันเกี่ยวของสรรพสิ่ง
ลำดับการเรียนรู้
๑. รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ธรรมชาติแห่งชีวิต
๒. เรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยชีวภาพอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก
๒.๑ เรียนรู้ด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ พฤติกรรม
๒.๒ สรุปผลการเรียนรู้
๓. เรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยกายภาพ (ดิน น้ำ แสง อากาศ)
๓.๑ เรียนรู้ด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ
๓.๒ สรุปผลการเรียนรู้
๔. เรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยอื่นๆ (ปัจจัยประกอบ เช่น วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่)
๕. เรียนรู้ธรรมชาติของความพันเกี่ยวระหว่างปัจจัย
๕.๑ เรียนรู้ วิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์และสัมพันธภาพ
๕.๒ เรียนรู้ วิเคราะห์ให้เห็นความผูกพัน
๖. สรุปผลการเรียนรู้ ดุลยภาพของความพันเกี่ยว

 

สาระที่ ๑ ธรรมชาติแห่งชีวิต

สาระที่ ๑ ธรรมชาติแห่งชีวิต

  การเรียนรู้ธรรมชาติแห่งชีวิต  

 
หลักการ  รู้การเปลี่ยนแปลง รู้ความแตกต่าง รู้ชีวิต
สาระการเรียนรู้
การเรียนรู้วงจรชีวิตของชีวภาพนั้นๆ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ และพฤติกรรม แล้วนำมาเปรียบเทียบตนเองกับชีวภาพรอบกายเพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

ลำดับการเรียนรู้
๑.      สัมผัสเรียนรู้วงจรชีวิตของชีวภาพ
๑.๑  ศึกษาด้านรูปลักษณ์ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านรูปลักษณ์
๑.๒ ศึกษาด้านคุณสมบัติ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านคุณสมบัติ
๑.๓  ศึกษาด้านพฤติกรรม ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านพฤติกรรม

๒. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่าง
๒.๑ รูปลักษณ์กับรูปกายตน
๒.๒ คุณสมบัติกับสมรรถภาพของตน
๒.๓ พฤติกรรมกับจิตอารมณ์และพฤติกรรมของตน

๓. สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาธรรมชาติแห่งชีวิต
๔. สรุปแนวทางเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต


แบบศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (เอกสาร ก.7-003)


แบบศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (เอกสาร ก.7-003)
02 อธิบายคำศัพท์พฤกษศาสตร์ : แบบศึกษาพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

 
 ชื่อเอกสาร
ดาวน์โหลดเอกสาร
  ปกคู่มือ ก.7-003 และอธิบายศัพท์
 
 
  หน้า 1 แบบศึกษาพรรณไม้  
  หน้า 2-7 แบบศึกษาพรรณไม้  
  หน้า 8-10 แบบศึกษาพรรณไม้  
  อธิบายศัพท์แบบศึกษาพรรณไม้

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โลกของแมลง

  >> โลกของแมลง
 
   
 
            แมลงเป็นสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก มีอย่างน้อย 5 ล้านชนิด โดยทั่วไป แมลงมี 6 ขา และมีโครง สร้างแข็งหรืออาจเรียกว่ากระดูกปกคลุมอยู่ภายในร่างกาย ประกอบ เหมือนสัตว์ป้องกันอวัยวะภายในที่นุ่ม แมลงมีทั้งชนิดที่อยู่ในน้ำ ชายน้ำ บนบก และในดิน
 
 
           โครงสร้างภายนอกของแมลง ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ หัว อก และลำตัว นอกจากนี้ยังมีตาอีก หนึ่งคู่ และอาจมีตาเดี่ยว ขา 3 คู่ ปีกและหนวดอย่างละ 2 คู่  แมลงมีทั้งมีประโยชน์และมีโทษ ชนิดที่มี  ีประโยชน์เรียกว่า “ ศัตรูธรรมชาติ” บางชนิดเป็นส่วนที่สำคัญในห่วงโซ่อาหาร ช่วยสลายอินทรีย์วัตถุ ส่วน ที่เป็นศัตรูนั้นมีทั้งที่เป็นศัตรูพืชและสัตว์ บางชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่พืช คนและศัตรู
 
            แมลงเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการยาวนานกว่า 400 ล้านปี มีความหลากหลาย ทั้งในด้านรูปร่างลักษณะและ จำนวนชีวิต นักกีฏวิทยาประมาณว่าโลกนี้มีแมลง มากกว่าร้อยละ 75 ของสัตว์ทั้งหมดที่พบในโลกคือ การที่ ี่แมลงประสบความสำเร็จใน การดำรงชีวิตมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น เพราะแมลงเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ทำให้มีความ ต้องการที่อยู่อาศัย ตลอดจนอาหารในการดำรงชีพไม่มากนัก
 
            นอกจากนี้ แมลงยังเป็นสัตว์ที่มีกระดูกอยู่ภายนอกลำตัว จึงสามารถป้องกัน อันตรายภายนอกได้เป็น อย่างดีตลอดจนมีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ได้อย่างดีเยี่ยม รวมทั้งเป็นสัตว์ที่มีวงจรชีวิตสั้น ขยายพันธุ์ได้ในประมาณครั้งละ มากๆ ทำให้แมลงสามารถเพิ่มจำนวนประชากรและแพร่กระจายได้อย่าง รวดเร็ว ด้วยความสามารถที่เหนือกว่าสัตว์อื่นดังกล่าวจึงทำให้เราสามารถพบเห็นแมลง ได้ ตลอดเวลา ทุกสถานที่ ทั้งบนบก ในดิน ในน้ำ ตามต้นไม้ บริเวณที่อยู่อาศัย
 
::   สัณฐานวิทยาภายในของแมลง   ::
            องค์ประกอบภายในตัวแมลงจะประกอบด้วยระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ และระบบ- สืบพันธุ์ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะระบบ สำคัญๆ เท่านั้น
        ระบบประสาท จะประกอบด้วย 3 ระบบใหญ่ๆคือ central nervous system , visceral nervous system, peripheral nervous system  
        ระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วย ต่อมน้ำลาย กระเพาะพัก กึ๋น ติ่งน้ำย่อย ลำไส้ส่วนกลางจนไปถึง ทวารหนัก ซึ่งแต่ละส่วนจะทำหน้าที่คล้ายกับระบบย่อยอาหารของมนุษย์  
        ระบบหมุนเวียนโลหิต เลือดของแมลง เป็นของเหลวประกอบด้วย น้ำเลือด (plasma) และ เม็ดเลือด (hemocyte)          
        ระบบหายใจ แมลงหายใจโดยใช้ท่อลม (trachea) และ รูหายใจ (spiracle)  ส่วนตัวอ่อน ของแมลงที่อาศัย ในน้ำจะใช้เหงือก ในการหายใจ                                                                                                
 


 
 
::   สัณฐานวิทยาภายนอกของแมลง   ::
 
           แมลง มีร่างกายที่ประกอบไปด้วยเปลือกหรือกระดูกภายนอก (exoskeleton) ซึ่งประกอบไปด้วย สารพวกไคติน(chitin) กระดูกภายนอกของแมลงมีความแข็งแรงทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้อวัยวะภายใน และทำหน้าที่ยึดเกาะกับกล้ามเนื้อต่างๆ เพื่อทำให้ร่างกาย มีการเคลื่อนไหวได้กล่าวได้ว่าแมลงเป็นสัตว์ที่แข็งแรงยึดติดนั้นมีพื้นที่มากกว่าสัตว์ชั้นสูงอื่นๆนั่นเองทำให้แมลง มีปริมาณกล้ามเนื้อ ที่มากกว่า สัตว์ทั้งหลาย       
         เปลือกหรือกระดูกภายนอก ( Exosleleton )     เปลือกหรือกระดูกภายนอกคือ ผนังลำตัวของแมลง ประกอบไปด้วย เยื่อ รับรองฐาน(basement membrane) บนเนื้อเยื่อรับรองฐานจะเป็นเซลล์บุผิว(epidermal cells) เรียง ตัวกัน เป็นเซลล์ชั้นเดียว ด้านบนของเซลล์บุผิวจะเป็นชั้นของ Cuticle ซึ่งถูกขับออกมาจากเซลล์บุผิวเรียงตัว กันเป็นชั้นๆ ถึง 3 ชั้นคือ
           endocutecle  อยู่ชั้นในสุดปกคลุมผิวเซลล์ทั้งหมด
           exocuticle  เป็น cuticle ชั้นนอก
          epicuticle  เป็น cuticle ชั้นนอกสุด สารประกอบที่สำคัญของ cuticle คือ chitin ซึ่งเป็นสารโมเลกุล เชิงซ้อนของไนโตรเจนัส โพลีแชคคาไรด์ (nitrogenous polysacharide) มีความแข็งแรงพอๆ กับ cellulose ในพืชแต่มีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นได้ในตัว ซึ่งเกิดจากการที่มีสาร sclerotin อยู่นั่นเอง
           
 
 

 

          แมลงมีขา ๖ ขา ช่วยให้การเกาะเกี่ยวพยุงตัวได้ดี แมลงสามารถที่จะ เกาะตัวบนเพดาน หงายท้องขึ้น เกาะเสากระโดงเรือ ที่มีลมพัด ค่อนข้างแรงได้โดยไม่ หลุดไปง่ายๆ เพราะนอกจากขาที่แข็งแรงแล้ว บางพวกยังมีเล็บที่โค้งแหลมและหนาม ตามขาที่ ช่วยเกาะเกี่ยวด้วย แมลงสาบนอกจากจะมีหนามตามขาแล้วยังมีขายาววิ่ง ได้เร็วยากที่เราจะไล่ทัน และมีลำตัวแบนสามารถหลบซ่อนในที่ที่แคบ ๆ และเกาะตัว ในทางดิ่งได้ จิงโจ้น้ำมีขายาวเช่นเดียวกันแต่ปลายขามีขนละเอียดแน่น น้ำซึมเข้า ไม่ได้ ช่วยให้วิ่งบน ผิวน้ำได้ดีทำให้ศัตรูตามไม่ได้ ตั๊กแตน และหมัดมีขาหลังโตกว่าขา คู่อื่น ๆ ทำให้สามารถกระโดดได้สูง หรือกระโดดได้ไกล ๒๐ - ๓๐ เท่าของความยาว ของลำตัวซึ่งสัตว์อื่น ทำไม่ได้ขนาดนั้นมดมีขาและกรรไกรที่แข็งแรงสามารถใช้ ขากรรไกรที่มีลักษณะเหมือน เขี้ยวลากหรือยกวัตถุเช่นอาหารที่มีน้ำหนักมากกว่า ลำตัวหลายเท่าได้อย่างดี
          แมลงใช้ขาในการเดิน วิ่ง กระโดด ว่ายน้ำ จับเหยื่อ ยึดเกาะตัวเมียในขณะ ผสมพันธุ์ ทำเสียง ขุด ต่อสู้หรือพรางตัว มวนกรรเชียงมีขาคู่หลังเหมือนใบพาย ขาคู่ หน้าสั้นใช้จับเหยื่อบนผิวน้ำ แมลงวันบ้าน มีแผ่นบางๆ เป็นปลายตะขอ สามารถยึด เกาะกับพื้นผิวที่เรียบที่สุด หนอนผีเสื้อ มีขาจริงๆ 3 คู่ และขาหลอกๆอีก 5 คู่ เรียกว่า ขาเทียม เป็นกล้ามเนื้อที่ยื่นออกมาจากส่วนท้อง ใช้ยึดเกาะต้นพืชขณะกินอาหาร
 

 
::   การเจริญเติบโต   ::
          เนื่อง จากแมลงมีเปลือกลำตัวแข็ง การเติบโตของร่างกายจึงมีจำกัด เมื่อร่างกายโตจนคับเปลือกแมลงจะโตต่อไปไม่ได้ก็จะต้องลอก เปลือกลำตัวเก่าทั้งและสร้างเปลือกลำตัวใหม่ให้โตกว่าเดิม แมลงจึงเจริญเติบโตไปได้เราเรียกกันว่า การลอกคราบ (moulting หรือ ecdysis) การลอกคราบแต่ละครั้งก็จะทำให้แมลงโตขึ้นไปด้วย แมลงทุกชนิดจึงมีการลอกคราบเพื่อการเจริญเติบโตโดย มี การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (metamorphosis) อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตโดยวิธีลอกคราบและมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างนี้ก็มีแตก ต่างกันไป
          แมลงบางพวกบางเหล่าเมื่อลูกฟักออกจากไข่จะมีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่ จนแยกแทบจะไม่ออกว่ามีส่วนไหนที่ต่างไปจากพ่อแม่ เรียกได้ว่าแมลงเหล่านี้มีการเจริญเติบโตแบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (ametabola,non metamorphosis) ซึ่งจะเห็น ได้จากแมลงพวกตัวสองง่ามและสามง่าม เป็นต้น
          แมลงบางพวกเมื่อลูกฟักออกจากไข่จะมีลักษณะคล้ายพ่อแม่ มีความแตกต่างอยู่บ้างที่จะสังเกตเห็นได้ว่าไม่เหมือนพ่อแม่ เช่น ปีกยังไม่เจริญออกมาให้เห็นเต็มที่เหมือนพ่อแม่ ยังคงเห็นเป็นติ่งอยู่เท่านั้น เรามักนิยมเรียกลูกแมลงประเภทนี้ว่า ตัวอ่อน (nymph) แมลงพวกนี้ได้แก่ ตั๊กแตน แมลงดานา มวน เป็นต้น เรียกว่ามี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างน้อย (gradualmetamorphosis, paurometabola)
           สำหรับพวกแมลงปอนั้นตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ ในขณะที่ตัวที่โตเต็มที่อาศัยอยู่บนบกตัวอ่อน ยังคงลักษณะให้เห็นคล้ายแมลงที่โตเต็มที่  เช่น ร่างกายแบ่งเป็น 3 ส่วน มีขา 6 ขา แต่รูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากพ่อแม่โดยสิ้นเชิง เช่น ตัวอ้ายโม่ง หรือแมลงปิดหน้า อี่นิ่ว  ละงำหน้าง้ำ ซึ่งเป็นตัวอ่อนของแมลงปอ อาศัยอยู่ในน้ำมีรูปร่างลักษณะต่างไปจากแมลงปออาศัยอยู่ในน้ำมีรูปร่าง ลักษณะต่างไปจากแมลงปอ ซึ่งอาศัยอยู่ บนบกโดยสิ้นเชิงจัดเป็นการเจริญเติบโตแบบการเปลี่ยนแปลงรูปร่างกึ่ง สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis, hemimetabola)
           นอกจากนี้ยังมีพวกที่ลูกมีการเจริญเติบโต โดยมีรูปร่างที่ผิดแปลกไปจากพ่อแม่โดยสมบูรณ์ เช่น ผีเสื้อ ด้วง แมลงวัน เมื่อยังเล็กอยู่มี รูปร่างเหมือนตัวหนอน ดูไม่ออกว่าเป็นแมลง มีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนอาหารที่แตกต่างไปจากพ่อ แม่โดยสิ้นเชิงก่อนจะเป็น ตัวเต็มวัยก็เข้าดักแด้รูปร่างของดักแด้ก็ต่างออกไปจากหนอนและตัวเต็มวัย แมลงเหล่านี้จัดว่ามีการเจริญเติบโตแบบ การเปลี่ยนแปลง รูปร่างสมบูรณ์ (Completemetamorphosis, holometabola) แมลงพวกนี้จึงมีขั้นตอนการเจริญเติบโต 4 ระยะคือ ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
           พวกสุดท้ายเป็นพวกที่มีการเจริญเติบโตแบบการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขั้น สูง (hypermetamorphosis) ซึ่ง มีลักษณะการ เปลี่ยนแปลงรูปร่างเหมือนกับแบบ สมบูรณ์ ต่างกันที่ในระยะที่ฟักออกจากไข่ จะมีรูปร่างเป็นตัวอ่อน มีร่างกายแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ หัว อก และท้อง มีขา 3 คู่ แต่เมื่อลอกคราบแล้วต่อไปจะมีลักษณะเป็นตัว หนอนก่อนที่จะเข้าดักแด้ แมลงพวกนี้จึงมีขั้นตอนการเจริญเติบโตเป็น 5 ระยะคือ ระยะไข่ ตัวอ่อน ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

 
::  การมองเห็น   ::
            การมองเห็น ตาของแมลงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ตาเดี่ยว และตาประกอบ
ตาของแมลงมี 2 แบบคือ         ตารวม (Compound eye) มี 2 ตา อยู่ด้านข้างของหัวเป็นอวัยวะที่ใช้ในการ รับภาพ ตาประกอบมีเลนส์จำนวนหลายร้อยอัน ทำให้เห็นภาพได้อย่างดีเยี่ยม
       ตาเดี่ยว (Single eye หรือ ocellus) อยู่ด้านบนของส่วนหัวอาจมี 2 ตา หรือ 3 ตา หรือไม่มี เป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับความรู้สึกด้านภาพกับแสงสามารถรับได้เฉพาะ ความเข้มของแสง

 
::  การกินของแมลง  ::
          การกินของแมลง แมลงที่ล่าเหยื่อเป็นอาหารจะมีฟันกรามที่แหลมคม ใช้ สำหรับแทง จับ ยึด และเคี้ยวเหยื่อที่จับได้ แมลงที่กัดกินพืช จะมีกรามที่ทู่กว่าใช้ ในการบดอาหาร
          ส่วนต่าง ๆ ของปากจะมีรูปร่างที่เหมาะแก่การกินอาหาร ซึ่งแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของอาหารที่กินเข้าไป นักวิทยาศาสตร์ ์ได้จัดแบบปากของแมลงตาม ลักษณะที่กินอาหาร ดังนี้
    1. ปากแบบกัดเคี้ยว เช่น ปากตั๊กแตน มีริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างเป็น แผ่นแบนปิดด้านบนและด้านล่าง มีขากรรไกรคู่หน้าที่เป็น ก้อนแข็ง หนา ใช้บดอาหาร และขากรรไกรคู่หลังเป็นแผ่นแบน ขอบคม ใช้สำหรับกัดอาหารให้ขาด จึงสามารถ กัด และเคี้ยวกินใบพืชต่าง ๆ ได้ดี
    2.ปากแบบเจาะดูด เช่น ปากของยุง มีริมฝีปากบนยาวเป็นรูปสามเหลี่ยม ขากรรไกรยาวและโค้งคล้ายท่อผ่าซีก ที่ปลายบางส่วน ก็แหลมคล้ายเข็มบ้าง คล้าย ใบมีดและคล้ายใบเลื่อยบ้าง สามารถตัดเจาะเนื้อคนหรือสัตว์เข้าไป และสามารถ ประกบเป็นท่อดูดเลือดได้
    3. ปากแบบกัด - เลียดูด เช่น ปากของผึ้งและแมลงภู่ เป็นปากแบบผสม กล่าวคือ ขากรรไกรคู่หน้าแบน บาง ขอบคมคล้ายใบมีด กัดก้านเกสรดอกไม้ให้ขาดได้ ขากรรไกรคู่หลังและริมฝีปากล่างยาวประกบเป็นท่อ ภายในมีลิ้นยาวคล้ายเส้นด้าย ยืดหดได้ทำให้สามารถกัด เลีย และดูดน้ำหวานได้.
    4.ปากแบบกัด - ซับดูด เช่น ปากของเหลือบ มีขากรรไกรหน้าเป็นแผ่นคม กัดเนื้อคนและสัตว์ให้เป็นแผลได้
    5. ปากแบบงวงดูด เช่น ปากของผีเสื้อ ส่วนต่าง ๆ ของปากหายไปหมด คงเหลือแต่ชิ้นส่วนบางส่วนของริมฝีปากล่างที่เจริญเป็น ท่อกลวงยาวคล้ายสายยาง หรืองวงสามารถม้วนขดเป็นวงกลมใต้หัว ทำหน้าที่ดูดน้ำหวานจากดอกไม้ได้
           แมลงจึงมีปากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับการกินอาหารที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน


 
::  การเกี้ยวพาราสีและการผสมพันธุ์  ::
           การเกี้ยวพาราสีและการผสมพันธุ์ แมลงจะใช้สัญญาณที่เป็นกลิ่นในการเกี้ยว พาราสี ใช้การแสดงสีสัน การเต้นรำ การสัมผัส หรือมี ีเหยื่อล่อ การบินเกี้ยวพาราสี เช่น ผีเสื้อประกอบด้วยการบินแบบร่อนรำ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสารเคมี กลิ่นเฉพาะสำหรับ ผีเสื้อแต่ละชนิด หนอนเรืองแสงเป็นหนอนตัวเมียของด้วงชนิดหนึ่ง ดึงดูดเพศผู้ด้วยการ กระพริบแสง

 
::  การสืบพันธุ์ ::
         แมลงส่วนใหญ่แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ ไข่เหล่านั้นได้รับการผสมจากเชื้อ อสุจิของตัวผู้ ที่ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียก่อนวางไข่ มีแมลงเป็น ส่วนน้อยที่วางไข่โดยไม่ ต้องผสมกับตัวผู้ และไข่เหล่านั้นสามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยออกลูกหลาน สืบต่อกันไปได้ เช่น ตั๊กแตน กิ่งไม้ แมลงบางพวก เช่น เพลี้ยอ่อน ออกลูกเป็นตัวโดย ไม่มีการผสมกับตัวผู้ แมลงเหล่านี้จึงมีตัวผู้น้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย แมลง บางพวกจะวาง ไข่โดยไม่จำกัดสถานที่ ปล่อยให้ไข่ตกไปตามยถากรรม ตั๊กแตนกิ่งไม้ โดยทั่ว ๆ ไปจะมีนิสัยเช่นนี้ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกมาต้องหาอาหาร ช่วยตัวเอง          แมลงมากชนิดจะวางไข่ตามแหล่งที่เป็นอาหารของลูกอ่อน ช่วยให้ลูกอ่อน ที่ฟักออกมามีอาหารกินได้ทันที บางชนิดวางไข่ใบเดี่ยว ๆ บนพืชอาหาร กระจายทั่วไปโดยปราศจากสิ่งปกปิด เช่น ผีเสื้อหนอนแก้วส้ม วางไข่ตามใบส้มทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ก็มีพวกที่วางไข่เป็นกลุ่ม อย่างเปิดเผย เช่น มวนลำใย ซึ่งลูกอ่อนที่ฟักออกมาจะอยู่รวมกลุ่มกันระยะหนึ่งก่อนที่จะแยกย้ายกันไป แมลงจำนวนมากวางไข่เป็นกลุ่มโดยจัด ให้ไข่อยู่ใต้สิ่งที่ปกปิดต่างๆ เพื่อช่วยในการอำพรางศัตรู แมลงชีปะขาว ปกปิดไข่ด้วยขนจากปลายท้องแม่ ตั๊กแตนตำข้าวทำสารเหนียวซึ่ง แข็งตัวหุ้มรอบไข่ที่อยู่ภายใน แต่เวลาเดียวกันก็มีแมลงมากชนิดที่อาศัยธรรมชาติช่วยปกปิดให้ เช่น ตั๊กแตนปาทังก้าวางไข่ซ่อนอยู่ในฝักและ ฝังไว้ใต้ผิวดินอีกทีหนึ่งทำให้ยากแก่ศัตรูที่จะค้นหาได้ พบ

 
::  ประโยชน์และโทษของแมลง ::
           แมลงก็เช่นเดียวกับสัตว์โลกทั้งหลาย เมื่อมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ย่อมมีทั้ง ประโยชน์และ โทษต่อมนุษย์ ประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากแมลงนั้น ได้แก่
      1. แมลงเป็นอาหารหรือเครื่องชูรสในอาหาร เช่น ในประเทศไทย มีการใช้แมลงดานามาปรุงน้ำพริก ในภาคกลาง มดแดงหรือมดส้มแทน น้ำส้มในภาคเหนือ มีการคั่วแมลงกุดจี่และหนอนไหมกินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนึ่งหรือยำตัวอ่อนของต่อหลวง ต่อหัวเสือในภาคใต้ ในที่ ๆ กันดารอาหาร มนุษย์มักต้องอาศัยแมลงเป็นอาหารประจำที่จะหาได้เสมอ
      2.ได้ประโยชน์จากผลิตผลของแมลง เช่น น้ำผึ้ง จากผึ้งมาเป็นอาหารและเข้าเครื่องยา ไหมจากไหมเลี้ยงและไหมป่ามาทำเครื่องนุ่งห่ม ครั่งจากแมลงครั่งมาทแลกเกอร์ผสมสีทาบ้านและเครื่องเรือนต่าง ๆ
      3.ใช้แมลงเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา กันเป็นล่ำเป็นสัน
      4.อาศัยแมลงช่วยผสมเกสรบำรุงพันธุ์พืชต่าง ๆ เพื่อให้ผลิตออกผลมากๆ โดยเฉพาะใช้ผึ้ง ชันโรง แมลงภู่ แมลงวันหัวเขียว ทั้งนี้ตาม ประสิทธิภาพของแมลงแต่ละอย่างที่จะผสมพันธุ์พืชแต่ละชนิด เช่น การผลิตเมล็ดหอมหัวใหญ่ จะใช้แมลงวันหัวเขียว ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง กว่าผึ้ง มีหลายกรณีเช่นกันที่มนุษย์เพาะเลี้ยงแมลงที่เป็นประโยชน์ แล้วปล่อยไปช่วยกำจัดแมลงหรือศัตรูพืชอื่น ๆ เช่น การเพาะเลี้ยงแตนเบียน ไข่เพื่อช่วยทำลายไข่ของหนอนเจาะลำต้นข้าว ไข่ของมวนลำไย
      5. แมลงช่วยทำลายวัชพืช เช่น หนอนกระทู้ ทำลายจอก แหน หนอนเจาะกระบองเพชรเพื่อทำลายป่ากระบองเพชรที่ไร้ประโยชน์
      6. แมลงให้ประโยชน์ทางการแพทย์จึงนำมาใช้ผสมเป็นเครื่องยารักษาโรคต่าง ๆ ซี่งปรากฏว่ามีแมลงหลายชนิดอยู่ ในตำรับยาไทยและ ในเรื่องนี้ทางประเทศจีนได้ศึกษาค้นคว้าและก้าวหน้าไปมาก
      7.ใช้แมลง ในการศึกษาเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เสมอ เช่น การใช้แมลงหวี่ ในการศึกษาทางพันธุกรรม ทำให้วิทยาศาสตร์ขานี้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
         หากแมลงที่มีประโยชน์ไม่ถูกทำลายโดยน้ำมือของมนุษย์เอง เช่น ถูกยาฆ่าแมลงตาย เกษตรกรก็จะได้ประโยชน์จากแมลงเหล่านี้มาก และประการสุดท้ายมนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายในรูปลักษณะ สีสันของแมลง ไปในการออกแบบทางศิลปะ เสียงร้องและ พฤติกรรมต่าง ๆ ของแมลงยังช่วยบำรุงจิตใจของมนุษย์ เป็นเพื่อนของมนุษย์ในยามเหงา แมลงต่างๆ เช่น จิ้งหรีด จักจั่น เรไร แม่ม่ายลองใน จึงได้ปรากฎในบทกวี โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ทั้งของไทยและของต่างประเทศบ่อย ๆ
         แมลงที่ให้โทษนั้นมีอยู่มากมายเช่นเดียวกัน ที่พบเห็นกันง่ายก็ได้แก่พวกที่เป็นศัตรูของคนและสัตว์โดยตรง มีทั้งก่อความรำคาญให้ เช่น แมลงสาบส่งกลิ่นเหม็นตามถ้วยชาม และตู้อาหารที่ไปเกาะ ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายโดยการกัด ต่อยทิ้งน้ำพิษให้เกิดอาการเจ็บป่วย เช่น ต่อ แตน มดตะนอย บุ้ง ร่าน หรือเป็นตัวเบียนดูดกินเลือดกัดกินผิวหนังให้เกิดอาการคัน เช่น ยุง เรือด เหา ตลอดจนทำลายปัจจัยที่จำเป็นต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น ปลวก ทำลายบ้านอยู่อาศัย ตลอดจนวัสดุที่ใช้งาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ มอดหรือตัวกินทำลายเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค พวกตั๊กแตน มวน ด้วง และหนอนผีเสื้อต่างๆมากมายที่เป็นศัตรูทำลายพืชผลที่เพาะปลูกและที่สำคัญก็ คือมีมากชนิดที่เป็นพาหะนำ โรคมาสู่คน เช่น ยุงนำเชื้อมาลาเรีย ไข้เลือดออก แมลงวันนำโรคอหิวาต์ โรคท้องร่วง และพวกที่นำไปสู่สัตว์ เช่น เหลือบ นำโรคแอนแทรกซ์ไปสู่โค ตลอดจนพวกที่ นำโรคไปสู่พืช ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เป็นต้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืช มากมาย โรคที่แมลงนำสู่พืชมีโรคที่สำคัญ ๆ อันเกิดจากเชื้อวิสา แบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น

 
::  แมลงอนุรักษ์ ::
           แมลงเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความต้องการที่อยู่อาศัย ตลอดจนอาหารในการ ดำรงชีพไม่มากนัก แมลงเป็นสัตว์ที่มีกระดูกอยู่ภายนอกลำตัว สามารถป้องกัน อันตรายภายนอกได้เป็นอย่างดี ตลอดจนมีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม รวมทั้งเป็นสัตว์ที่มี วงจรชีวิตสั้น ขยายพันธุ์ได้ในประมาณ ครั้งละมากๆทำให้แมลงสามารถเพิ่มจำนวนประชากรและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความ สามารถที่เหนือกว่าสัตว์อื่นดังกล่าว จึงทำให้เราสามารถพบเห็นแมลงได้ ตลอดเวลา ทุกสถานที่ ทั้งบนบก ในดิน ในน้ำ ตามต้นไม้ บริเวณที่ อยู่อาศัย แมลงบาง ชนิดสร้างสีสันให้กับโลกของเรา ทำให้โลกสดใสน่าอยู่ บางชนิดเป็นอาหารของสัตว์อื่น บางชนิดช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับพืช แต่มีอีกหลายชนิดที่ก่อให้เกิดปัญหากับพืชและ สัตว์ในด้านสุขภาพ ตลอดจนทำให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตลดลง จากความ หลากหลาย ของชนิดและคุณค่าของแมลงดังกล่าว จึงทำให้แมลงเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มี ความสำคัญ ในวงจรห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศ จากใน สถานการณ์ปัจจุบัน ระบบ นิเวศของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา ทั้งสาเหตุที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติและเกิดจากการ กระทำของมนุษย์ จึงเกิดความปรวนแปรของสภาพ ภูมิอากาศ และเกิดความผันผวนของวงจรสิ่งมีชีวิต ในสิ่งแวดล้อมทั่วทุกมุมโลก ปัญหา เหล่านี้ นับเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยอย่างยิ่ง สำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ป่า สีเขียวที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งหล่อเลี้ยง ชีวิตของสรรพสิ่ง ต่างๆ มาช้านาน ได้ลดน้อย ถอยลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ที่พึ่งพิงอยู่ในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งแมลง ต่างก็ได้รับ ผลกระทบจากภาวะวิกฤตินี้เช่นกัน อีกทั้งแมลงยังถูกคุกคาม จากการล่า และการค้า เป็นอันหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้แมลงลดลง พบว่า มีแมลงหลาย ชนิดหายากมาก หรือใกล้สูญพันธุ์ ไม่น้อยกว่า 19 ชนิด
ตัวอย่างแมลงอนุรักษ์ในประเทศไทย
สามารถ ดาวน์โหลด หนังสือเรื่องไดโนเสาร์ จาก link ข้างล่าง



      เอกสารดาว์นโหลด
  

ส่วนต่างๆของดอก


 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชใบ


(หนังสือไม้ป่ายืนต้นของไทย 1
โดย เอื้อมพร วีสมหมาย,ปณิธาน แก้วดวงเทียน)
การเรียงตัวของใบ(Leaf arrangement)
รูปร่างใบ(Leaf shape)
ปลายใบ(Leaf apex)
โคนใบ(Leaf base)
ขอบใบ(Leaf margin)
ดอก (flower)
ส่วนต่างๆของดอกไม้
ผลสด(fleshy fruit)
ผลแห้ง(dry fruit)


ส่วนต่างๆของดอกไม้


ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว(flower)


ดอกออกเป็นช่อ (inflorescence)



1.ช่อกระจุกแน่น(head)

2.ช่อแบบหางกระรอก(catkin)


3.ช่อเชิงหลั่น(corymb)



4.ช่อกระจุก(cyme)

5.ช่อกระจุกซ้อน(dichasium)

6.ช่อกระจุกแยกแขนง (cymose panicle or thyrse)


7.ช่อแยกแขนง(panicle)

8.ช่อกระจะ(raceme)

9.ช่อเชิงลดมีกาบ(spathe)


10.ช่อเชิงลด(spike)

11.ช่อซี่ร่ม(umbel)
  



12.ช่อฉัตร(verticillasters)


 
 


13.ช่อซี่ร่มย่อย(compound umbel )

14.ช่อซี่ร่มแยกแขนง(branched umbel)


ที่มา   http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/leaf/07.html