วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สาระที่ ๓ ประโยชน์แท้แก่มหาชน

สาระที่ ๓ ประโยชน์แท้แก่มหาชน

การเรียนรู้ประโยชน์แท้แก่มหาชน


หลักการ   รู้ศักยภาพ   รู้จินตนาการ  รู้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้
เรียนรู้ การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยศึกษา   จินตนาการเห็นคุณ สรรค์สร้างวิธีการ  เพื่อประโยชน์แท้แก่มหาชน


ลำดับการเรียนรู้
๑. เรียนรู้การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยศึกษา
๑.๑  พิจารณาศักยภาพด้านรูปลักษณ์
๑.๒ วิเคราะห์ศักยภาพด้านคุณสมบัติ
๑.๓ จินตนาการศักยภาพด้านพฤติกรรม

๒. เรียนรู้ จินตนาการเห็นคุณของศักยภาพ ของปัจจัยศึกษา
๒.๑  จินตนาการจากการวิเคราะห์ศักยภาพ
๒.๒ เรียนรู้สรุปคุณของศักยภาพ ที่ได้จากจินตนาการ

๓. สรรค์สร้างวิธีการ
๓.๑ พิจารณาคุณที่เกิดจากจินตนาการ
๓.๒ สร้างแนวคิด แนวทาง วิธีการ

๔. สรุปผลการเรียนรู้ ประโยชน์แท้แก่มหาชน

อธิบายลำดับการเรียนรู้
ให้การสัมผัสปัจจัยการเรียนรู้ โดยเยาวชน บนฐานของ สรรพชีวิต  สรรพสิ่ง  เกิดการเรียนรู้
รู้เล็ก  ลึก  ละเอียด ในชีวิต  เห็น ศักยภาพ ของสิ่งที่รู้  บนฐานของการรู้จริง   เห็นคุณ  อันก่อเกิดเป็น ประโยชน์แท้ แก่ตน  สังคม  และประเทศชาติ
ประโยชน์แท้  เมื่อเกิดขึ้นแล้ว  พืชพรรณ  ได้รับการอนุรักษ์  อย่างเห็นคุณ รู้ค่า รู้ใช้ประโยชน์ อย่างระมัดระวัง  รอบคอบ   ด้วยสติ  ปัญญาของเยาวชน  ประโยชน์นั้นจึงจะสมบูรณ์  ยั่งยืน

๑. เรียนรู้การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยศึกษา
เรียนรู้ศักยภาพของปัจจัยศึกษา โดยมีการเรียนรู้ด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ พฤติกรรม
ผ่านอวัยวะสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย  ร่วมกับจิตที่แน่ว  จรดจ่อ
๑.๑  พิจารณาศักยภาพด้านรูปลักษณ์

๑.๑  พิจารณาศักยภาพด้านรูปลักษณ์
กรณีศึกษา ผักโขม
๑. กำหนดเรื่องที่เรียนรู้ คือ ดอกผักโขม
๒. พิจารณาศักยภาพของสีของดอกผักโขม พบว่าธรรมชาติของผักโขม ดอกเป็นช่อกระจุก สีน้ำตาลอมม่วง
ช่อกระจุก  มีศักยภาพ  สามัคคี มีพลัง ความมั่นคง

๑.๒ จินตนาการศักยภาพด้านคุณสมบัติ
๑. กำหนดปัจจัยเรียนรู้ คือ คุณสมบัติของดอกผักโขม
๒. จินตนาการศักยภาพของคุณสมบัติ พบว่าธรรมชาติของความสากของดอกผักโขม  มีศักยภาพ ขัดถู  ดัก จับ แรงเสียดทานสูง
๑.๓ วิเคราะห์ศักยภาพด้านพฤติกรรม (ผลการตอบสนองต่อปัจจัย)
๑. กำหนดปัจจัยเรียนรู้ คือ พฤติกรรม(ผลการตอบสนองต่อปัจจัย)  การร่วงหล่นของดอกผักโขม
๒. วิเคราะห์ศักยภาพของพฤติกรรม (ผลการตอบสนองต่อปัจจัย)

(สังเกตการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของปัจจัยศึกษา)
ธรรมชาติของการงอกของเมล็ดผักโขม พบว่า ผักโขมร่วงหล่นและงอกเองได้โดยธรรมชาติ
การงอกของเมล็ดผักโขม  ศักยภาพ คือ การเกิดใหม่ การมีชีวิต การเจริญเติบโต การเอาตัวรอด

๒. เรียนรู้ จินตนาการเห็นคุณของศักยภาพ ของปัจจัยศึกษา
 ๒.๑  จินตนาการจากการวิเคราะห์ศักยภาพ
การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยที่ศึกษา จากศักยภาพนั้นก่อเกิดจินตนาการ ซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากอารมณ์ที่เนื่องจากความคิด
ตัวอย่าง การจินตนาการเห็นคุณของการสัมผัสเมล็ด
๑.      ทำให้สึก  หลุดออก

๒.    ทำให้เรียบ
๓.     ทำให้สะอาด
๔.     ทำให้ผ่อนคลาย
๒.๒ เรียนรู้สรุปคุณของศักยภาพ ที่ได้จากจินตนาการจินตนาการที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ สู่ทางที่ดี สรุปเป็นคุณแก่ตน สรรพสิ่ง และประเทศชาติ

๓. สรรค์สร้างวิธีการ 
๓.๑ พิจารณาคุณที่เกิดจากจินตนาการ
พิจารณาเลือกคุณที่เกิดจากจินตนาการ นำไปสู่การพัฒนา
๓.๒ สร้างแนวคิด แนวทาง วิธีการ ตัวอย่าง  ทำให้สะอาด
แนวคิดที่ ๑  นำไปเป็นวัสดุขัดถูผิวกาย
แนวคิดที่ ๒ นำไปเป็นวัสดุขัดถูเครื่องครัว
แนวคิดที่ ๓  นำไปเป็นวัสดุขัดถูวัสดุการเกษตร
แนวคิดที่ ๑  นำไปเป็นวัสดุขัดถูผิวกาย

แนวทางที่ ๑   ทำเป็นแปรงขัดถู
แนวทางที่ ๒  ทำเป็นแผ่นขัดถู
แนวทางที่ ๓  ทำเป็นก้อนขัดถู
แนวทางที่ ๔  ทำเป็นเส้นขัดถู
วิธีการของแนวทางที่ ๑   ทำเป็นแปรงขัดถู
๑.      ออกแบบ  เขียนแบบ  แปรงขัดถูผิวกายตามจินตนาการ
๑.๑   จัดทำแบบร่าง  รูปลักษณ์ของแปรงขัดถู
๑.๒  พัฒนาแบบร่างของแปรงขัดถู  โดยพิจารณาขนาด  สัดส่วนมาตราส่วน  รูปแบบการใช้งาน  คัดเลือกวัสดุ  ให้เหมาะสมกับผู้ใช้
๑.๓  แบบขั้นสุดท้าย  กำหนดวัสดุที่ใช้ตามมาตรฐาน
๑.๔  เขียนแบบแปรงขัดถู  แสดงแบบแปลน รูปด้าน รูปตัด

๔. สรุปผลการเรียนรู้ ประโยชน์แท้แก่มหาชน
การสรรค์สร้างวิธีการเรียนรู้ประโยชน์แท้แก่มหาชน จะต้องมีคุณลักษณะทั้ง ๔ ประการ
ผลประโยชน์นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สืบเนื่องยาวนานไม่รู้จบ
ผลประโยชน์นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ขจัดความขาดแคลนทางกาย
ผลประโยชน์นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว บำรุงจิตให้เบิกบาน
ผลประโยชน์นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ตกอยู่กับมหาชนคนส่วนใหญ่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ด้านวิชาการ
๑.      วิทยาศาสตร์  เช่น  คิด  วิเคราะห์ เป็นระบบ  เป็นขั้นเป็นตอน  เรียนรู้ด้านรูปลักษณ์
คุณสมบัติ
๒.    สรีรวิทยา  เช่น  กลไกธรรมชาติ  กระบวนการเปลี่ยนแปลง

๓.     ภาษา  เช่น  การใช้คำในการสื่อสาร
๔.     ศิลปะ เช่น  การออกแบบ  การวาดภาพ  การแสดง
๕.     สังคมศาสตร์  เช่น  การทำงานร่วมกัน

๒. ด้านภูมิปัญญา
๑.  การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
๒. การจัดการชีวิต เข้าใจชีวิต
๓.  การสรรค์สร้างสิ่งใหม่

๓. คุณธรรมและจริยธรรม
๑.      ความละเอียด รอบคอบ
๒.    ความเอาใจใส่ของผู้สอนต่อผู้เรียน
๓.     ความรัก  ความเมตตา
๔.     ความซื่อสัตย์
๕.     ความรับผิดชอบ


สาระที่ ๒ สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว

สาระที่ ๒ สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว

 

การเรียนรู้สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว
หลักการ รู้สัมพันธ์ รู้ผูกพัน รู้ดุลยภาพ
สาระการเรียนรู้
การวิเคราะห์องค์ความรู้ธรรมชาติของปัจจัยหลัก การเรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง การเรียนรู้ธรรมชาติของความพันเกี่ยวระหว่างปัจจัย การวิเคราะห์สัมพันธภาพระหว่างปัจจัย เพื่อเข้าใจดุลยภาพและความพันเกี่ยวของสรรพสิ่ง
ลำดับการเรียนรู้
๑. รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ธรรมชาติแห่งชีวิต
๒. เรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยชีวภาพอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก
๒.๑ เรียนรู้ด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ พฤติกรรม
๒.๒ สรุปผลการเรียนรู้
๓. เรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยกายภาพ (ดิน น้ำ แสง อากาศ)
๓.๑ เรียนรู้ด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ
๓.๒ สรุปผลการเรียนรู้
๔. เรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยอื่นๆ (ปัจจัยประกอบ เช่น วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่)
๕. เรียนรู้ธรรมชาติของความพันเกี่ยวระหว่างปัจจัย
๕.๑ เรียนรู้ วิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์และสัมพันธภาพ
๕.๒ เรียนรู้ วิเคราะห์ให้เห็นความผูกพัน
๖. สรุปผลการเรียนรู้ ดุลยภาพของความพันเกี่ยว

 

สาระที่ ๑ ธรรมชาติแห่งชีวิต

สาระที่ ๑ ธรรมชาติแห่งชีวิต

  การเรียนรู้ธรรมชาติแห่งชีวิต  

 
หลักการ  รู้การเปลี่ยนแปลง รู้ความแตกต่าง รู้ชีวิต
สาระการเรียนรู้
การเรียนรู้วงจรชีวิตของชีวภาพนั้นๆ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ และพฤติกรรม แล้วนำมาเปรียบเทียบตนเองกับชีวภาพรอบกายเพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

ลำดับการเรียนรู้
๑.      สัมผัสเรียนรู้วงจรชีวิตของชีวภาพ
๑.๑  ศึกษาด้านรูปลักษณ์ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านรูปลักษณ์
๑.๒ ศึกษาด้านคุณสมบัติ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านคุณสมบัติ
๑.๓  ศึกษาด้านพฤติกรรม ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านพฤติกรรม

๒. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่าง
๒.๑ รูปลักษณ์กับรูปกายตน
๒.๒ คุณสมบัติกับสมรรถภาพของตน
๒.๓ พฤติกรรมกับจิตอารมณ์และพฤติกรรมของตน

๓. สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาธรรมชาติแห่งชีวิต
๔. สรุปแนวทางเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต


แบบศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (เอกสาร ก.7-003)


แบบศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (เอกสาร ก.7-003)
02 อธิบายคำศัพท์พฤกษศาสตร์ : แบบศึกษาพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

 
 ชื่อเอกสาร
ดาวน์โหลดเอกสาร
  ปกคู่มือ ก.7-003 และอธิบายศัพท์
 
 
  หน้า 1 แบบศึกษาพรรณไม้  
  หน้า 2-7 แบบศึกษาพรรณไม้  
  หน้า 8-10 แบบศึกษาพรรณไม้  
  อธิบายศัพท์แบบศึกษาพรรณไม้