วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใบ (Leaves)


ใบ (Leaves)
ใบ ( Leaves )
เป็นอวัยวะที่เจริญออกไปบริเวณด้านข้างโดยมีตำเหน่งอยู่ที่ข้อปล้องของต้น และกิ่งใบส่วนใหญ่จะมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์รูปร่างและขนาดของใบแตกต่างกันไป ตามชนิดของพืช หน้าที่หลักของใบคือใช้ในการสังเคราะห์แสง การหายใจและการคายน้ำ
ลักษณะโครงสร้างภายในของใบ
ส่วนประกอบของใบมี 3 ส่วนคือ แผ่นใบ ( blade หรือ lamina ) ก้านใบ ( petiole ) และหูใบ ( stipule )
โครงสร้างของใบ
ภาพ โครงสร้างของใบ

1.แผ่นใบ ( blade หรือ lamina ) มักแผ่เป็นมีขนาดใบและรูปร่างต่างกัน
1.1เส้นใบ ( vein ) ให้สังเกตเส้นกลางใบ ( midrib ) ซึ่งต่อเป็นเนื้อเดียวกับก้านใบ จากเส้นกลางใบแยกออกเป็นเส้นใบ ซึ่งจะแยกแขนงออกไปอีกเป็นเส้นแขนงใบ ( vientet )
ารเรียงของใบ ( venation )
เส้นใบแบบขนาน ( parallel venation )พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แบ่งเป็นเรียงตามยาวของใบ (plamately parallel venation) และเส้นใบขนานกันตามขวางของใบ ( pinately parallel venation )
เส้นใบขนาน ใบมะพร้าว
ภาพ เส้นใบขนานเรียงตามยาวของใบ (plamately parallel venation)

เส้นใบขนาน เส้นใบแบบขนาน
ภาพ เส้นใบขนานกันตามขวางของใบ (pinately parallel venation)
ส่วนของใบเลี้ยงคู่เป็นแบบตาข่าย ( netted หรือ recticulated venation ) ซึ่งมี 2 แบบคือ
- แบบตาข่ายขนนก ( pinnately netted venation )
- ตาข่ายแบบรูปมือ ( palmately netted venation )
ใบเรียงตัวแบบตาข่าย

2. ก้านใบ ( petiole )
ติดกับแผ่นใบตรงฐานใบ ยกเว้นบางชนิดก้านใบติดตรงกลางหรือตรงด้านในของแผ่นใบ ก้านใบสั้นบ้าง ยาวบ้าง หรือไม่มีก้านใบเลย เรียก sessile leaf ก้านใบโดยมากมีลักษณะกลม ใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด ก้านใบแผ่หุ้มลำต้นเรียกกาบใบ ( leaf sheath )
ก้านใบ กาบใบ
ภาพ ก้านใบ
ภาพ กาบใบ

3. หูใบ ( stipule )
เป็นระยางค์ อยู่ตรงโคนก้านใบ ถ้าเป็นหูใบของในย่อย ( leaflet ) เรียกหูใบย่อย ( stiple ) หูใบมีลักษณะเป็นริ้ว หนามหรือต่อมเล็ก ๆ ส่วนใหญ่มีสีเขียว หูใบมีรูปร่างขนาดและสีต่างกัน
stipule
ภาพ หูใบ

การจัดเรียงของใบบนต้น ( leaf arrangment ) ใบที่ออกมาจากส่วนของลำต้น แบ่งออกได้กว้าง ๆ 3 แบบคือ
1.แบบสลับ ( alternate หรือ spiral )
2.แบบตรงข้าม ( opposite )
3. แบบวง ( whorled )
แบบสลับ แบบตรงกันข้าม แบบวง
ภาพ การเรียงตัวของใบแบบสลับ
ภาพ การเรียงตัวของใบแบบตรงกันข้าม
ภาพ การเรียงตัวของใบแบบวง
ใบเดี่ยวและใบประกอบ

1.ใบเดี่ยว ( simple leaf ) ใบที่มีแผ่นใบแผ่นเดียว
ใบเดี่ยว
ภาพ ใบเดี่ยว

2.ใบประกอบ (compound leaf )คือใบที่มีแผ่นใบมากกว่าหนึ่งเกิดบนก้านใบอันเดียวกันแต่ละใบ เรียกว่าใบย่อย ( leaflet ) ก้านของใบย่อยเรียกว่า petiolule หรือ petiolet ใบเดี่ยวหรือใบประกอบสังเกตได้โดยใบเดี่ยวมีตาข้าง ( arillary bud ) หรือ ตายอด ( terminal bud ) อาศัยดูความอ่อนแก่ของใบ ถ้าเป็นใบประกอบจะแก่พร้อม ๆ กัน แต่ถ้าเป็นกิ่งของใบเดี่ยว ใบตอนโคนจะแก่กว่าใบตอนปลายกิ่ง ใบประกอบแยกออกได้ดังนี้
   2.1)ใบประกอบแบบขนนก ( pinnately compound leaf ) มีใบย่อยออก 2 ข้างของแเกนกลาง ( rachis) ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อกับก้านใบ ใบประกอบมีใบย่อยออกแกนกลาง 2 ครั้ง เรียกใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ( bipinnately compound leaf ) แกนของใบประกอบใบย่อยแยกออกจากแกนกลาง นี้เรียก rachilla พืชบางชนิดมีใบประกอบแบบ tripinnately compound leaf คือมีการแตกแขนงของใบ ย่อยเช่นเดียวกับใบประกอบแบบขนนกสองชั้นแต่เพิ่มมาอีก หนึ่งชั้น
ใบประกอบขนนก
ภาพ ใบประกอบแบบขนนก

   2.2)ใบประกอบแบบรูปมือ ( palmately compound leaf ) คือใบประกอบที่มีใบย่อยทุกใบออกมาจากตำเหน่งเดียวกันตรงปลายก้านใบ ใบประกอบแบบนี้ถ้ามี 3 ใบย่อยเรียก trifoliolate ถ้ามี 4 ใบเรียก quadrifoliolate และถ้ามีใบย่อยมากกว่านี้เรียก polyfoliolate trifoliolate อาจเป็นใบประกอบแบบขนนกถ้ามี rachis
ใบประกอบรูปมือ
ภาพ ใบประกอบรูปมือ
โครงสร้างภาคตัดขวางของใบแท้ ประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน คือ
2.1 ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis) มี 2 ด้านคือเอพิเดอร์มิสด้านบน(Upper epidermis) กับ เอพิเดอร์มิสด้านล่าง (Lower epidermis)
2.2 ชั้นมีโซฟีลล์ (Mesophyll) แบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อยคือ พาลิเสดมีโซฟีลล์(Palisade mesophyll) และ สปองจีมีโซฟีลล์ (Spongy mesophyll)
2.3 มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) ประกอบด้วย Xylem กับ Phloem โดยไซเล็มจะอยู่ด้านบน ส่วน Phloem จะอยู่ด้านล่างโดยมีบัลเดิลชีทล้อมรอบ
โครงสร้างใบ โครงสร้างใบ
ภาพ โครงสร้างของใบ

2. ใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ (Modified leaf) ได้แก่
2.1 มือเกาะ (leaf tendril) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นมือเกาะเพื่อพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ อาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบ เช่น มือเกาะของถั่วลันเตา มะระ ตำลึง
มะระ ตำลึง ถั่วลันเตา
ภาพ มือเกาะของมะระ
ภาพมือเกาะของตำลึง
มือเกาะของถั่วลันเตา

2.2 หนาม (Leaf spine) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนาม เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกัน อันตรายต่างๆจากศัตรูหรือสัตว์ ที่จะมากิน และป้องกันการระเหยของน้ำ อาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบก็ได้ เช่นหนามของต้นเหงือกปลาหมอ เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบและหูใบ หนามของต้นกระบองเพชรและ เปลี่ยนแปลงมาจากใบทั้งใบ หนามของมะขามเทศเปลี่ยนแปลงมาจากหูใบ หนามของสับปะรด เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบ
ต้นเหงือกปลาหมอ กระบองเพชร สับปะรด
ภาพ ต้นเหงือกปลาหมอ
ภาพ ต้นกระบองเพชร
ภาพ ต้นสับปะรด

2.3 ใบสะสมอาหาร (Storage leaf) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็น อวัยวะสำหรับเก็บหรือสะสมอาหารหรือน้ำ ใบประเภทนี้จะมีลักษณะอวบอ้วน เนื่องจากเก็บอาหาร และอมน้ำไว้มาก เช่น ใบเลี้ยงของพืชต่างๆ ใบว่านหางจระเข้ กลีบหัวหอม และ กลีบของกระเทียม
ว่านหางจระเข้ หอมแดง กระเทียม
ภาพ ว่านหางจระเข้
ภาพ หัวหอม
ภาพ กระเทียม


2.4 ใบเกล็ด (Scale leaf) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเกล็ดเล็กๆ ใบเกล็ดมักไม่มี คลอโรฟิลล์ เช่น เช่นใบเกล็ดของขิง ข่า เผือก
ขิง ข่า
ภาพ ใบเกล็ดของขิง
ภาพ ใบเกล็ดของข่า
2.5 ทุ่นลอย (Floating leaf ) พืชน้ำบางชนิด เช่นผักตบชวา สามารถลอยน้ำอยู่ได้ โดยอาศัยก้านใบอาศัยก้านใบพองโตออก ภายในมีเนื้ออยู่กันอย่างหลวมๆ และมีช่องว่างอากาศใหญ่ทำให้มีอากาศอยู่มาก จึงช่วยพยุงให้ลำต้นลอยน้ำอยู่ได้
ผักตบชวา
ภาพ ทุ่นลอยของผักตบชวา

2.6 ใบประดับ หรือใบดอก (Bract ) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงพิเศษเพื่อรองรับดอก โดยอยู่บริเวณก้านดอกส่วนมากมีสีเขียว แต่มีหลายชนิดที่มีสีอื่นๆ สวยงามคล้ายดอก เช่น เฟื่องฟ้า หน้าวัว คริสต์มาส
ใบประดับของเฟื่องฟ้า ใบประดับของดอกหน้าวัว ใบประดับของต้นคริสมาศ
ภาพ ใบประดับของดอกเฟื่องฟ้า
ภาพ ใบประดับของดอกหน้าวัว
ภาพ ใบประดับของต้นคริสต์มาส (Poinsettia)
2.7 ใบสืบพันธุ์ เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงมาเพื่อสืบพันธุ์ เพื่อช่วยในการแพร่พันธุ์ เช่น ใบของต้นตายใบเป็น
ต้นตายใบเป็น
ต้นตายใบเป็น
ภาพ ใบสืบพันธุ์ของต้นตายใบเป็น

2.8 กับดักแมลง เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นกับดักแมลง หรือสัตว์เล็ก ภายในกับดักจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยอาหารจำพวก โปรตีน เช่นต้นกาบหอยแคลง หยาดน้ำค้าง สาหร่ายข้าวเหนียว หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นต้น
ใบกำดักของสาหร่ายข้าวเหนียว ดอกสาหร่ายข้าวเหนียว
ภาพ ใบกำดักของสาหร่ายข้าวเหนียว
ภาพ ดอกของสาหร่ายข้าวเหนียว

ต้นหยาดน้ำค้าง ต้นหยาดน้ำค้าง
ภาพ ต้นหยาดน้ำค้าง

ใบกับดักของต้นกาบอยแคลงเวลาหุบใบ
กาบหอยแคลง
ภาพ ใบำดักของต้นกาบหอยแคลง

หม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นกาบหอยแคลง
ภาพ ต้นกาบหอยแคลง

ขอขอบคุณ ที่มา  http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/leaf.htm

ส่วนประกอบต่างของใบ

    *   เส้นใบ
    *   รูปใบ
    *   ปลายใบ
    *   ฐานใบ
    *   ขอบใบ
    *   ชนิดของใบ
    *   การเรียงของใบ
    *   ใบเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ

ขอขอบคุณ  http://web3.dnp.go.th/botany/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น